น้ำบาดาลในแต่ละพื้นที่ มีคุณภาพที่แตกต่างกัน สำหรับ น้ำบาดาลใช้บริโภค ต้องตรวจสอบคุณภาพของน้ำว่ามีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ และปลอดภัยต่อการใช้บริโภคหรือไม่ เพราะถ้าในน้ำบาดาลไม่สะอาด หรือมีแร่ธาตุบางอย่างปนอยู่มากเกินไป หรือมีสารพิษปนเปื้อนอยู่ ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
แล้ว น้ำบาดาลใช้บริโภค ล่ะ? ต้องเป็นแบบไหน ที่เราสามารถนำมาดื่มกินได้โดยไม่เป็นอันตราย มาดูกันเลยครับ
มาตรฐานคุณภาพของน้ำบาดาลจะดูจากคุณลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
- คุณลักษณะทางกายภาพ โดยดูจากสี ความขุ่น และค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
- คุณลักษณะทางเคมี เพื่อดูปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ละลายปนอยู่ในน้ำ
- คุณลักษณะที่เป็นพิษ เพื่อตรวจหาสารพิษและธาตุโลหะหนักที่เป็นอันตรายที่อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำ
- คุณลักษณะทางแบคทีเรีย เพื่อตรวจดูปริมาณแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในน้ำ
คุณลักษณะทางกายภาพ
คุณลักษณะทางกายภาพของน้ำบาดาลที่เหมาะสำหรับนำไปบริโภค คือ
ค่าสีของน้ำ ไม่เกิน 5 หน่วยแพลทตินัม-โคบอลต์
ค่าความขุ่น ไม่เกิน 5 หน่วยความขุ่น
ความความเป็นกรด-ด่าง(PH) อยู่ระหว่าง 7.0-8.5
คุณลักษณะทางเคมี
คุณลักษณะทางเคมีของ น้ำบาดาลใช้บริโภค คือ ต้องมีปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ ไม่มากเกินกว่าที่เกณฑ์กำหนด ได้แก่
- เหล็ก (Fe) ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร
- แมงกานีส (Mn) ไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัม/ลิตร
- ทองแดง (Cu) ไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร
- สังกะสี (Zn) ไม่เกิน 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร
- ซัลเฟต (SO₄) ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/ลิตร
- คลอไรด์ (Cl) ไม่เกิน 250 มิลลิกรัม/ลิตร
- ฟลูออไรด์ (F) ไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม/ลิตร
- ไนเตรต (NO3) ไม่เกิน 45 มิลลิกรัม/ลิตร
- ความกระด้างทั้งหมด ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/ลิตร
- ความกระด้างถาวร ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/ลิตร
- ปริมาณสารละลายทั้งหมด ไม่เกิน 600 มิลลิกรัม/ลิตร
คุณลักษณะที่เป็นพิษของ น้ำบาดาลใช้บริโภค
คุณลักษณะที่เป็นพิษของน้ำบาดาล ที่ไม่ควรนำไปบริโภคมีอยู่หลายประการ
เพราะน้ำบาดาลจะต้องปราศจากสารพิษหรือสารโลหะหนักต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
เช่น สารหนู (As), ไซยาไนด์ (Cn), ตะกั่ว (Pb), ปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), ซีลีเนียม (Se)
ซึ่งสารพิษเหล่านี้เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก ๆ สามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น อ่อนเพลีย ท้องเสีย ไตวาย มะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคอิไต โรคมินามาตะ เป็นต้น
คุณลักษณะทางแบคทีเรีย
คุณลักษณะทางแบคทีเรียของน้ำบาดาลที่เหมาะสำหรับนำไปบริโภค คือ
มีปริมาณแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในน้ำ ไม่เกิน 500 โคโลนี/ลบ.ซม.
มีปริมาณโคลิฟอร์ม น้อยกว่า 2.2 ต่อ 100 ลบ.ซม.
และจะต้องไม่มีเชื้อ อีโคไล (E.coli) ที่สามารถทำให้เกิดโรคท้องเสียได้
หากต้องการตรวจสอบคุณภาพน้ำในบ่อบาดาลก่อนที่จะนำไปบริโภค สามารตทำได้โดย
- เก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อ ถ้าเป็นบ่อเจาะใหม่ ให้เก็บก่อนหยุดสูบทดสอบน้ำ 15 นาที ถ้าเป็นบ่อน้ำที่ใช้เป็นประจำอยู่แล้ว ให้เก็บหลังจากการสูบใช้ 15 นาที
- เก็บตัวอย่างน้ำด้วยขวดพลาสติกหรือขวกแก้วที่ล้างสะอาด
- ล้างขวดด้วยน้ำตัวอย่างในบ่อที่จะเก็บ 2-3 ครั้ง แล้วเก็บตัวอย่างน้ำให้เต็มขวด ปริมาณไม่น้อยกว่า 1.5 ลิตร
- เขียนฉลากรายละเอียดของบ่อ สลานที่ตั้ง ความลึก และเวลาที่เก็บตัวอย่าง ติดที่ขวดใส่น้ำ
สามารถติดต่อส่งตรวจตัวอย่างน้ำได้ที่ สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
สุดท้ายนี้! หากใครกำลังมีโครงการขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อนำมาใช้อุปโภคและบริโภค หรือใช้ในการเกษตรหรืออุตสาหกรรม
อย่าลืม!! ปั๊มบาดาลทอร์ค ปั๊มบาดาลที่ดี มีคุณภาพ มาตรฐานสากล คุณสมบัติเยี่ยม สูบน้ำได้แรงสะใจ แรงสูบสม่ำเสมอ ใบพัดสะบัดหิน สะบัดทราย ปัญหาไม่จุกจิก มีระบบป้องกันไฟเกิน และสามารถทนไฟตกได้มากถึง 170V และที่สำคัญมีการรับประกันตลอด 1 ปีเต็ม ทั้งตัวเครื่องและมอเตอร์ หากปั๊มมีปัญหาและยังอยู่ในปีรับประกัน สามารถส่งเคลมกับเราได้เลยทันที
ปั๊มบาดาลทอร์ค ทน แกร่ง แรงจัด ครบเครื่องเรื่องน้ำบาดาล
ปั๊มทอร์คมีร้านค้าออนไลน์แล้ว มาช้อปสินค้าราคาดีๆกับเราได้ที่:
ติดตามข่าวสาร โปรโมชั่น และสาระดีๆจาก TORQUE เพิ่มเติมได้ที่:
🔵 Facebook: ปั๊มบาดาลทอร์ค Torque
📱 Line ID: @pumptorque
📞Tel: 02-925-6660 📞 Hotline: 081-444-8102 (สายด่วนปรึกษาเรื่องปั๊มน้ำ)
📧 Email : marketing@soiha.com
👨🔧 Dealers: https://bit.ly/3zCf7EF
🌐 Website : https://torque-th.com/