ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่คือ อะไร ? มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง?

ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่คือ อะไร ? มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง?

หลังจากที่คราวที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับ “ปั๊มบาดาล” และ “ปั๊มหอยโข่ง” กันไปแล้ว วันนี้ทอร์คจะมาพูดถึงปั๊มอีกชนิดหนึ่ง ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยนะครับ นั่นก็คือ…” ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่ ” นั่นเอง

“ ปั๊มจุ่ม ” หรือ “ปั๊มแช่” หรือที่หลาย ๆ คนเรียกติดปากกันว่า “ไดโว่” เป็นปั๊มที่นิยมนำมาใช้กันมากในบ้านเรือนที่มีบ่อน้ำ บ่อปลา หรือบ่อพักน้ำ รวมไปถึงใช้กันในงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง และบ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น

ปั๊มจุ่มมีขนาดที่กะทัดรัด น้ำหนักเบา และใช้งานง่าย นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการดูดน้ำเสีย น้ำโคลน หรือของเหลวที่มีกากตะกอนสูงได้ดีอีกด้วย

แล้วปั๊มจุ่มที่เรารู้จักกันดีนี้มีส่วนประกอบสำคัญอะไรบ้าง? มีหลักการทำงานอย่างไร? และมีจุดเด่นอะไรที่ทำให้แตกต่างจากปั๊มชนิดอื่นบ้าง?

วันนี้ทอร์คจะมาเล่าให้ฟังนะครับ พร้อมแล้ว เรามาดูกันเลย!

ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่

“ปั๊มจุ่ม” หรือ “ปั๊มแช่” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Submersible Pump เหมือนกันกับปั๊มบาดาล มีความหมายว่า ปั๊มที่ใช้งานโดยการจุ่มแช่ลงไปในน้ำ เพื่อทำการสูบขึ้นมา

แต่ปั๊มจุ่มจะมีกำลังน้อยกว่า และมีจำนวนใบพัดน้อยกว่า ทำให้ไม่สามารถสูบน้ำจากบ่อใต้ดินลึกๆ ได้ เหมาะสำหรับสูบน้ำจากบ่อที่ไม่ลึกมากครับ

ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่

ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่ ยังมีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันติดปากว่า “ปั๊มไดโว่”

โดยที่มาของชื่อ “ปั๊มไดโว่” สันนิษฐานว่ามาจากปั๊มแบรนด์ “Divo” ของญี่ปุ่นที่เคยวางขายในไทยเมื่อหลายสิบปีก่อน ทำให้ช่างส่วนใหญ่เรียกกันติดปากว่า “ปั๊มไดโว่”

ปั๊มจุ่มสามารถแบ่งประเภทตามการใช้งานได้ 2 ประเภทคือ ปั๊มจุ่มน้ำดี และ ปั๊มจุ่มน้ำเสีย

มาดูกันนะครับว่าทั้ง 2 ประเภทต่างกันอย่างไรบ้าง

  1. ปั๊มจุ่มน้ำดีหรือ ปั๊มจุ่มน้ำสะอาด ใช้สำหรับสูบน้ำสะอาด น้ำที่ไม่มีตะกอนหรือเศษขยะ จะมีช่องตะแกรงถี่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตันในช่องใบพัดได้

2. ปั๊มจุ่มน้ำเสีย เป็นปั๊มที่สามารถใช้สูบน้ำโคลน น้ำมีตะกอนหรือเศษขยะได้ เพราะมีช่องตะแกรงที่ใหญ่ และมีฐานที่สูงกว่าปั๊มจุ่มน้ำดี เพื่อให้สามารถดูดตะกอนหรือสิ่งสกปรกได้สะดวก ปั๊มจุ่มน้ำเสียบางรุ่นจะมีใบมีดที่ใบพัด ใช้สำหรับตัดเศษขยะให้เป็นชิ้นเล็กๆ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันได้อีกด้วย

ส่วนประกอบหลัก ๆ ของ ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่

ส่วนต่างๆ ของปั๊มจุ่ม ประกอบไปด้วย

  • เรือนปั๊ม เป็นตัวปั๊มส่วนที่ห่อหุ้มเพลา และมอเตอร์ด้านในเอาไว้
  • ทางน้ำเข้า เป็นทางที่น้ำจะเข้ามาในตัวปั๊ม 
  • ใบพัด ทำหน้าที่สร้างแรงเหวี่ยงและส่งน้ำออกไป 
  • ทางน้ำออก เป็นทางที่น้ำจะถูกส่งออกไป

หลักการทำงานของปั๊มจุ่ม

ปั๊มจุ่มมีหลักการทำงานโดยการใช้มอเตอร์สร้างพลังงานทำให้ใบพัดหมุน เมื่อใบพัดหมุนจะทำให้กระแสน้ำไหลไปตามทิศทางการหมุนของใบพัด และถูกส่งออกไปทางท่อน้ำออก

จุดเด่นของปั๊มจุ่ม

  • ใช้งานง่าย ไม่ต้องติดตั้งกับตู้ควบคุม เพียงแค่จุ่มตัวปั๊มลงไปในน้ำหรือของเหลวที่ต้องการจะสูบ ก็สามารถเปิดใช้งานได้ทันที
  • สามารถใช้สูบน้ำเสีย และน้ำที่มีตะกอน หรือเศษขยะอยู่ได้ รวมถึงของเหลวที่มีความข้นสูง เช่น โคลน น้ำมัน และก๊าซ เป็นต้น

ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่

ระโยชน์ของปั๊มจุ่ม

  • ใช้สูบระบายน้ำท่วมขัง เช่น สูบน้ำที่ท่วมอยู่ในชั้นใต้ดินของอาคาร หรือใช้ในการทำเหมืองแร่ เป็นต้น
  • ใช้สูบส่งของเหลวในงานอุตสาหกรรม เช่น การสูบส่งสารเคมี หรือการสูบส่งน้ำมัน เป็นต้น
  • ใช้ในการบำบัดน้ำเสียหรือบ่อเกรอะ
  • ใช้สูบน้ำในการทำสระน้ำหรือบ่อปลา

เป็นยังไงกันบ้างครับ ตอนนี้เพื่อนๆคงจะรู้จักปั๊มจุ่มกันแล้วไม่มากก็น้อย ซึ่งประโยชน์ในการใช้งานของปั๊มประเภทนี้ก็มีหลากหลาย เหมาะกับการใช้งานทั้งในบ้านเรือน หรืองานเกษตรและอุตสาหกรรมต่างๆ

หากใครกำลังมองหาปั๊มจุ่มดีๆ สักตัวมาใช้งาน ลองหันมาใช้ปั๊มจุ่มที่มีมาตรฐานอิตาลีอย่างปั๊มจุ่มทอร์คสิครับ เพราะนอกจากคุณภาพจะดีแล้ว ยังมีการรับประกันสินค้าอีกด้วย ที่สำคัญ!!! ปั๊มจุ่มทอร์ครุ่นใหม่มาพร้อมใบพัด cutter ที่สามารถตัดผ่านตะกอนชิ้นใหญ่ๆให้เล็กลงได้ สามารถสูบน้ำได้ต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด

สั่งซื้อปั๊มจุ่มทอร์คจากไทวัสดุคลิก

ปั๊มจุ่มทอร์ค ทน แกร่ง แรงจัด

ปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่

ติดตามข่าวสาร โปรโมชั่น และสาระดี ๆ จาก TORQUE เพิ่มเติมได้ที่:
1. Facebook: ปั๊มบาดาลทอร์ค Torque
2. LineID: @pumptorque
3. Tel: 02-925-6660
4. Hotline : 081-444-8102 (สายด่วนปรึกษาเรื่องปั๊มน้ำ)
5. Email : marketing@soiha.com
6. Website: torque-th.com

Recent Knowledge

ทอร์คชี้เป้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566

ช่างขุดเจาะบาดาลมืออาชีพ ที่เราตั้งใจเลือกมาเพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้กับคุณ ใครที่กำลังมองหาช่างขุดเจาะบาดาลมากฝีมือและมากประสบการณ์ สามารถติดตามช่างจากตรงนี้ได้เลยครับ 

Read More