การรับมือน้ำท่วมพื้นที่สวนผลไม้ ต้องป้องกันและแก้ไขยังไงบ้าง?

การรับมือน้ำท่วมพื้นที่สวนผลไม้ ต้องป้องกันและแก้ไขยังไงบ้าง?

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ทอร์ค มีสาระดีๆมาฝากกันอีกแล้ว กับ การรับมือน้ำท่วมพื้นที่สวนผลไม้ ว่าเราต้องป้องกันและแก้ไขกันยังไง?

สภาวะน้ำท่วมขังสวนไม้ผลที่เกิดขึ้นในทุกระยะ ได้สร้างความสูญเสียให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต ที่ได้พบมาก่อนนั้นเป็นเรื่องของความแห้งแล้ง ชาวสวนจึงไม่ค่อยได้คำนึงในเรื่องนี้มากนัก ภัยจากน้ำท่วมขังที่เกิดขึ้นในอดีตได้ก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ชาวสวนเป็นอย่างมาก จนถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัวไป

ดังนั้น เพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและที่อาจเกิดตามมาในอนาคตอันใกล้นี้ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการป้องกันและการแก้ไขปัญหาของสภาวะน้ำท่วมขัง เพื่อให้ประโยชน์แก่ชาวสวนไม้ผลและนักวิชาการ หรือนักส่งเสริมที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ปฏิบัติต่อไป

แนวทางป้องกัน การรับมือน้ำท่วมพื้นที่สวนผลไม้ และแก้ไขปัญหานั้น แบ่งได้เป็น 3 สถานะ ดังนี้

การรับมือน้ำท่วมพื้นที่สวนผลไม้

หากเป็นสภาพพื้นที่ราบลุ่ม ขอให้เกษตรกรตรวจดูความแข็งแรงของคันดินรอบสวน โดยให้พิจารณาถึงความสูงและความหนาของคัน หากพบมีจุดบกพร่องหรือมีความสูงไม่เพียงพอให้รีบดำเนินการเสริมคันดังกล่าวก่อนภาวะฝนตกชุกจะมาถึง สำหรับสวนในสภาพพื้นที่ดอนนั้น น้ำท่วมขังมักเกิดจากน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว ความสูญเสียมักเกิดจากความแรงและต้นไม้ที่น้ำพัดพา รวมทั้งตะกอนดินที่อาจทับถมไว้ อันเป็นสิ่งที่ยากจะป้องกันได้

อย่างไรก็ตาม การป้องกันการชะล้างหน้าดินหรือมีแนวรั้วหรือมีการปลูกแนวไม้บังลมที่แข็งแรงอยู่ก่อนแล้วก็สามารถลดความรุนแรงนี้ลงได้เป็นอย่างมาก ในกรณีที่ทราบสถานการณ์ล่วงหน้า หากมีโอกาสแนะนำให้ตัดแต่งเอาใบออกประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เป็นใบอ่อน ซึ่งใบเป็นส่วนที่มีการใช้อาหารมากที่สุด

การรับมือน้ำท่วมพื้นที่สวนผลไม้

แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ

1. สวนผลไม้ในพื้นที่ลุ่ม ให้ชาวสวนรีบดำเนินการจัดเสริมสร้างคันดินโดยรอบให้แข็งแรงพอที่จะรองรับแรงดันของน้ำให้ได้ จากนั้นรีบสูบน้ำออกจากพื้นที่ให้สวนแห้งโดยเร็ว จนน้ำในสวนลดลงสู่ระดับปกติ

2.ในกรณีที่สวนผลไม้ไม่สามารถเสริมคันดินได้ สิ่งที่พอจะประทังได้คือ การช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำโดยใช้วิธีการพ่นอากาศลงในน้ำที่ท่วมขังอยู่ ซึ่งอาจใช้มอเตอร์หรือเครื่องยนต์หมุนกังหันน้ำหรือใช้การตีให้น้ำที่ท่วมขังมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มออกซิเจนให้ละลายในน้ำได้มากขึ้น โดยใช้หลักการเดียวกับการปลูกพืชในน้ำยา (hydroponics) และรากของต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้ส่วนหนึ่งจนกว่าน้ำลด

การรับมือน้ำท่วมพื้นที่สวนผลไม้

สิ่งที่ต้องพึงระวังไว้ให้มากทั้งสวนในสภาพพื้นที่ลุ่มและที่ดอน คือ เมื่อระดับน้ำลดแล้วแต่ดินยังมีความเปียกชุ่มหมาดอยู่ ห้ามเดินย่ำผิวดินโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะมีผลทำให้ดินอัดแน่นระบบรากต้นไม้ซึ่งได้รับความกระทบกระเทือนอยู่แล้วจะได้รับอันตรายมากขึ้น และต้นตายได้โดยง่าย

ควรปล่อยพื้นที่ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน จนหน้าดินแห้งก่อน จากนั้นให้ใช้ปุ๋ยทางใบและผสมกับสารเคมีต่างๆ ฉีดพ่นให้กับต้นไม้ผลตามสัดส่วน ต่อน้ำ 20 ลิตร

ดังต่อไปนี้
1. ปุ๋ยทางใบ อัตราส่วนของ N-P-K ประมาณ 3:1:2 เช่น 15-5-10 หรือ 4:1:3 เช่น 20-5-15 หรือที่มีสูตรใกล้เคียงกัน ปริมาณ 30-40 กรัม
2. ธาตุอาหารย่อย (trace elements) 5 กรัม
3. น้ำตาลทรายขาว 1 เปอร์เซ็นต์ (น้ำตาล 200 กรัม)
4. สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือแมนโคเซ็บ ฯลฯ ดำเนินการฉีดพ่นให้กับต้นไม้ผล 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 3 วัน ต่อครั้ง เพื่อฟื้นคืนสภาพต้นโดยเร็ว เมื่อต้นไม้ผลมีการผลิยอดอ่อนขึ้นมาใหม่จนสามารถเจริญเติบโตกระทั่งใบแก่สมบูรณ์แล้ว จึงจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความอยู่รอดของต้นไม้นั้นได้

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรักษาใบอ่อนชุดนี้ให้สมบูรณ์และปลอดภัยจากการเข้าทำลายของศัตรูพืชต่างๆ ในระยะใบอ่อนนี้ มิฉะนั้นแล้วต้นอาจตายได้โดยง่าย หากต้นมีการออกดอกและติดผลตามมาในระยะนี้ ให้กำจัดออกให้หมดเพื่อรักษาต้นแม่ไว้ เนื่องจากต้นไม้ผลจำเป็นที่จะต้องฟื้นคืนสภาพจากสภาวะน้ำท่วมขังให้มีความสมบูรณ์ดังเดิมก่อน

การรับมือน้ำท่วมพื้นที่สวนผลไม้

คำเตือน ไม้ผลที่อยู่ในสภาพของน้ำท่วมขัง ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาสั้นหรือยาวก็ย่อมเป็นผลเสียหายทั้งสิ้น พืชแต่ละชนิดหรือเป็นชนิดเดียวกันหรือพันธุ์เดียวกันก็ตาม ความสามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมขังก็ย่อมแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้

1. ธรรมชาติหรือชนิดของไม้ผล ไม้ผลแต่ละชนิดหรือแต่ละพันธุ์มีความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขังได้ไม่เท่ากัน บางชนิดอาจอ่อนแออย่างมาก เช่น ขนุน จำปาดะ มะละกอ กล้วย ทุเรียน ในขณะที่บางชนิดสามารถทนทานได้มากกว่า เช่น มะขาม ส้มโอ มะกอกน้ำ มะพร้าว เป็นต้น

2. ความสมบูรณ์หรือความแข็งแรงของต้น สำหรับไม้ผลที่มีการดูแลรักษา มีความสมบูรณ์ดี มีอาหารสะสมในต้นอยู่สูงในระยะก่อนถูกน้ำท่วมขัง จะมีความสามารถอยู่ได้นานมากกว่า ต้นไม้ผลที่มีการติดผลดกมากและภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีอาหารสะสมในต้นต่ำมาก หากถูกน้ำท่วมขังจะตายไปในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่สมบูรณ์กว่าในแปลงเดียวกัน

3. ระยะของการเจริญเติบโต ช่วงระยะที่มีการผลิใบอ่อน โดยเฉพาะในระยะใบพวง (เป็นระยะที่แผ่นใบขยายเต็มที่แล้ว แต่ใบยังมีลักษณะที่อ่อนนุ่ม) ต้นจะมีความอ่อนแอมากที่สุด เนื่องจากต้นได้นำเอาอาหารสะสมจากรากไปใช้ในการสร้างใบ ทั้งนี้ เพราะใบเป็นส่วนที่มีการใช้อาหารมากที่สุดในขณะที่ถูกน้ำท่วมขัง ดังนั้น การตัดแต่งกิ่งให้มีจำนวนใบลดน้อยลงในช่วงก่อนน้ำท่วมขังก็ย่อมสามารถที่จะช่วยยืดอายุต้นไปได้

4. อายุของต้นไม้  สำหรับไม้ผลที่มีอายุน้อยหรือมีพุ่มต้นขนาดเล็กจะมีความทนทานได้น้อยกว่า นอกจากนี้ ระดับความสูงของน้ำที่ท่วมขังก็มีบทบาทที่สำคัญด้วย หากส่วนของใบอยู่ใต้น้ำแล้วก็จะตายได้โดยง่าย

5. สภาพแวดล้อมที่ถูกน้ำท่วมขัง อุณหภูมิ ความเร็วลม รวมทั้งสภาพของน้ำที่ท่วมขังก็เป็นส่วนประกอบร่วมด้วยอุณหภูมิสูง ลมพัดจัดและน้ำนิ่งย่อมทำให้ความอยู่รอดของต้นไม้ผลสั้นลง ต้นที่ถูกลมพัดโยกคลอนมักมีโอกาสตายสูง

ขอขอบคุณข้อมูลและสาระความรู้ดีๆจาก: สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

สาระความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปั๊มน้ำทอร์ค:
1. 9 วิธีดูแลระบบน้ำประปาบาดาลในช่วงฤดูฝน
2. 6 รูปแบบการให้น้ำเพื่อการเกษตร

ปั๊มทอร์คมีร้านค้าออนไลน์แล้ว มาช้อปสินค้าราคาดีๆกับเราได้ที่:

1. ช้อปที่ Lazada

2. ช้อปที่ Thaiwatsadu

ติดตามข่าวสาร โปรโมชั่น และสาระดีๆจาก TORQUE เพิ่มเติมได้ที่:

🔵 Facebook: ปั๊มบาดาลทอร์ค Torque

📱 Line ID: @pumptorque

📞Tel: 02-925-6660 📞 Hotline: 081-444-8102 (สายด่วนปรึกษาเรื่องปั๊มน้ำ)

📧 Email : marketing@soiha.com

👨‍🔧 Dealers: https://bit.ly/3zCf7EF   

🌐 Website : https://torque-th.com/

Recent Knowledge

ทอร์คชี้เป้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566

ช่างขุดเจาะบาดาลมืออาชีพ ที่เราตั้งใจเลือกมาเพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้กับคุณ ใครที่กำลังมองหาช่างขุดเจาะบาดาลมากฝีมือและมากประสบการณ์ สามารถติดตามช่างจากตรงนี้ได้เลยครับ 

Read More